วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

All about Yoga



ประวัติของโยคะ (Yoga)

               โยคะ (Yoga) ถือกำเนิดในประเทศอินเดียเมื่อหลายพันปีที่แล้ว โดยในสมัยโบราณนั้นมนุษย์ได้ค้นคว้าเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับความเข้าใจในความเป็นอยู่ของตนเอง อดีตมีการจารึกถ้อยคำด้วยตัวอักษรความรู้ที่สำคัญๆ ทั้งหมด ถูกส่งผ่านคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง ในรูปแบบของนิทาน ด้วยวิธีการเช่นนี้ ความรู้ต่างๆ จึงได้สะสมขึ้นและวัฒนธรรมต่างๆ ได้พัฒนาขึ้นมา และนี่คือวิธีการที่การฝึกโยคะ ได้ถูกถ่ายทอดมาถึงปัจจุบันในหุบเขาแห่งอินดัส วอลเลย์ นักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลักและศิลปะรูปปั้น ที่แสดงถึงการฝึกโยคะ ศิลปะเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยประชาคมที่มีความเจริญเป็นอย่างสูง ซึ่งเจริญอยู่ในพื้นที่แถบนั้นช่วง 2000 และ1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน) 


           นักปราชญ์ชาวฮินดูคนหนึ่งชื่อว่า ปตัญชลี เป็นคนแรกที่ปรับปรุงการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน เขาเขียนสูตรแห่งการฝึกโยคะเป็น 8 หัวข้อสั้นๆ หัวข้อเหล่านี้เชื่อว่าได้ถูกเขียนขึ้นเมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช คำว่าโยคะ มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า "ยุจ (YUJ)" ที่มีความหมายถึงการประกอบกันหรือการเชื่อมผนึกกัน โดยผู้ที่ปฏิบัติโยคะที่เป็นผู้ชายเรียกว่า Yogins or Yogis ส่วนผู้หญิงเรียกว่า Yoginis ส่วนผู้สอนเรียกว่า Guru ประเทศตะวันตกได้นำโยคะมาเป็นการออกกำลังกายโดยดัดแปลงจาก Hatha-Yoga ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของโยคะ 


         นอกจากนี้การฝึกท่าโยคะเรียก Asanas เป็นการฝึกท่าโยคะและค้างท่านั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง การฝึกโยคะจะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงประสาทไขสันหลังเพิ่ม การฝึกโยคะจะทำให้การทำงานของต่อมต่างๆ รวมทั้งต่อมไร้ท่อทำงานดีขึ้น ท่าของการฝึกโยคะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะ และมีการสอดคล้องกับการหายใจเป็นการรวมกายและจิตร่วมกัน การฝึกท่าโยคะจะเป็นการฝึกประสาท ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง การทรงตัว ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ สุขภาพจิตและสุขภาพกายดีขึ้น ท่าที่ใช้สำหรับการฝึกโยคะมีมากมาย โดยท่าที่เป็นหลักในการฝึกโยคะ เช่น การฝึกโยคะท่าศพอาสนะ Savasana (Corpse Pose) ท่านั่งก้มตัว (Paschimottanasana) การฝึกท่างู Bhujangasana (Cobra Pose) เป็นต้น





การเข้ามาของโยคะในประเทศไทย

        300ปีก่อนคริสตกาล หรือ พ.ศ.200  โยคะสูตร กำเนิดโยคะสูตร คัมภีร์แม่บทของโยคะ รวบรวมโดยมหาฤาษี ปตัญชลี  พูดโดยคร่าวๆโยคะสูตรก็คือโยคะภาคทฤษฎี นั่นเอง

         ค.ศ.1450 หรือ พ.ศ.1993 หฐโยคะ กำเนิดตำราฝึกโยคะที่เน้นทางด้านกายภาพเล่มแรก “หฐปฏิปิกะ”หรือที่เรารู้จักกันในนามของ หฐโยคะ โดยโยคีสวาทมารามา โปรดสังเกตว่า หฐปฎิปิกะ มีหลังจากโยคะสูตรเกือบ1800ปี

          ต้น ค.ศ.1900 หรือ พ.ศ.2400 โยคะยุคใหม่ นี้มีกลุ่มนักคิดอินเดียรุ่นใหม่ นำโยคะมาเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปสังคม โดยยึดหลักทฤษฎีจากโยคะสูตร ผสานกับวิธีปฏิบัติจาก หฐโยคะ นักคิดกลุ่มนี้ทำการเผยแพร่โยคะในวงกว้าง คือสอนโยคะให้กับชาวอินเดียทั่วไป  สอนให้กับสตรี และสอนให้กับชาวต่างชาติด้วย


           ประมาณ พ.ศ.2490  โยคะในไทยโดยอาจารย์ชด อาจารย์ชดได้เดินทางไปฝึกโยคะที่อินเดีย 3 ปี  จากนั้นกลับเมืองไทยและเริ่มสอนโยคะในประเทศไทย รวมเป็นเวลาเกือบ40 ปี จากนั้นก็มีคนนำมาสอนเป็นรูปแบบต่างๆมากขึ้นดังได้ทราบในปัจจุบัน


ประเภทของโยคะ

     1. โยคะร้อน

    โยคะร้อน ก็คือโยคะที่ฝึกในห้องที่ ติดฮีทเตอร์ให้ร้อน อุณหภูมิประมาณ 37 องศา มีต้นกำเนิดที่อเมริกา เพราะเมืองนอกอากาศหนาว และฝรั่งตัวแข็ง ความร้อนจะช่วยให้ยืดหยุ่นได้มากขึ้น โยคะ ร้อนก็เหมือนฝึกโยคะพร้อมๆ กับซาวน่า บางคนจะชอบเพราะจะได้เหงื่อเยอะ รู้สึกเหมือนได้ออกกำลังกาย บางคนเชื่อว่าจะเผาผลาญมากแต่ต้องเข้าใจก่อนว่าการ เผาผลาญ กับเหงื่อออกเป็นคนละเรื่องกัน เหมือนที่ครูถือศีลเคยเปรียบว่า ยืนตากแดดก็ร้อนและเหงื่อออกก็เป็นคนละเรื่องกับการเผาผลาญความ ร้อนนี้เราต้องระบายออกไป เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ ซึ่งตรงนี้แหละที่ร่างกายเราระบายออกทางเหงื่อ เหมือนรถระบายออกทางหม้อน้ำและมีพัดลมเป่าความร้อนออกไป ถ้า เราฝึกโยคะในที่เย็น ร่างกายเราระบายความร้อนออกมา ก็จะไม่ค่อยมีเหงื่อให้เห็นเพราะเหงื่อระเหยหมด แต่ถ้าฝึกในที่ร้อนร่างกายก็ต้องเร่งระบายเหงื่อออกมามาก ข้อดี ของการฝึกในที่ร้อนก็อย่าง ที่บอกมาแล้วคือร่างกายจะยืดหยุ่นได้ดีกว่า และเหงื่อที่ขับออกมามากก็จะเป็นการระบายของเสียทางผิวหนังไปในตัวเหมือนซาวน่า




     2. โยคะเย็น

     โยคะเย็น ก็คือโยคะธรรมดาทั่วไป บ้างก็ฝึกอากาศธรรมชาติ บ้างก็ฝึกในห้องแอร์ ข้อดี ของการฝึกในที่เย็นคือฝึกได้นานกว่า มากกว่า ทำให้ได้ใช้พลังงาน เต็มที่กว่า เพราะไม่ค่อยรู้สึกเหนื่อยเท่าไหร่ เปรียบเหมือนเราวิ่งจ็อกกิ้งในวันที่อากาศเย็นสบายจะวิ่งได้นานกว่าอากาศ ร้อน





ท่าเล่นพื้นฐานของโยคะ

1. ท่ายืน

คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความ สนใจเกี่ยวกับการยืน บางคนลงน้ำหนักส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้า แอ่นพุ่งไปข้างหน้า หลังโก่งทำให้เสียทรวดทรง การฝึกโยคะในท่ายืนจะช่วยลดอาการปวดหลังและ ทำให้ทรวดทรงดีขึ้น 2. ท่ากลับศีรษะลง เอาเท้าชี้ขึ้น

การฝึกท่านี้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องระวังในคนที่อ้วน ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน การฝึกท่าเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ผู้ที่มีความดัน สูงหรือต่ำ ผู้ที่เป็นต้อกระจกไม่ควรฝึกท่าเหล่านี้

3. ท่านั่ง

การฝึกท่านั่งมีด้วยกันหลายท่า มี ตั้งแต่ง่ายจนยาก ท่านไม่จำเป็นต้องทำทุกท่า ควรจะเลือกท่าที่เหมาะสมกับตัวเอง 4. ท่านอนหงาย

ท่านอนหงายเป็นท่าทำได้ ไม่ยาก การฝึกจะทำให้ได้ผลดีต่อร่างกาย กระตุ้นอวัยวะในช่องท้อง ลดอาการปวดประจำเดือน ลดอาการปวดหลัง

5. ท่านอนคว่ำ

ท่านอนคว่ำมีวิธีเริ่มต้นอาจจะ แตกต่างกัน บางท่าเริ่มจากนอนคว่ำ บางท่าเริ่มจากการคลาน แต่โดยรวมลำตัวต้องอยู่ในท่าคว่ำ คออาจจะเงย ก้มลงหรือขนานกับพื้น จะมีประโยชน์ในการทำให้ กล้ามเนื้อหลังแข็งรง  



ประโยชน์ของการเล่นโยคะ

     ประโยชน์ทางด้านร่างกาย

     • ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและผ่อนคลาย
     • เพิ่มพูนความยืดหยุ่นของร่างกาย
     • ทำใหร่างกายเคลื่อนไหวอย่างสง่างาม
     • แก้ไขท่าที่ไม่ดีให้ดีขึ้น
     • ทำให้กระดูกสันหลังตรง
     • ทำให้ระบบในร่างกายมีความสมดุล
     ประโยชน์ทางจิตใจ

     • ทำให้คลายเครียด
     • ทำให้จิตใจสงบและเยือกเย็น
     • ทำให้มีความคิดที่แหลมคม
     • ทำให้จิตใจแจ่มใสไม่ฟุ้งซ่าน
     • ทำให้รู้สึกสงบ
     ประโยชน์ในทางพลังงาน

     • ทำให้พลังงานที่หยุดนิ่งในร่างกายได้เคลื่อนไหว
     • ทำให้พลังงานไหลเวียนไปทั้งระบบของร่างกาย

     • นำพลังงานไปสู่ทุกส่วนของร่างกายอีก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น