ประเทศไทยได้ฉายาว่าดินแดนสุวรรณภูมิ คือดินแดนที่อุดมสมบรูณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร ไทยเราปลูกข้าวกินเองมาตั้งแต่สมัยบรพบุรุษเราตั้งแต่โบราณกาล สายพันธุ์ข้าวไทยนั้นมีมากมายหลากหลาย แต่เ็มไปด้วยคุณประโยชน์แต่ล่ะชนิดมีความเฉพาะตัว จึงขอยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปดังนี้
ข้าวไรซ์เบอร์รี่
ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ลักษณะเป็นข้าวเจ้า สีม่วงเข้ม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวลมาก ปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง ต้านทานต่อโรคไหม้ แต่ไม่ต้านทานโรคหลาว จึงควรเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกรอบการปลูก
อีกข้อจำกัดคือเป็นข้าวที่ต้องการเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ และต้องมีสภาพอากาศเย็น เพื่อสร้างสีเมล็ดลักษณะประจำพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ความสูง 105-110 เซนติ เมตร อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน ผลผลิต 300-500 กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์ข้าวกล้อง (brown rice) 76% ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice) 50% ความยาวของเมล็ดข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง 7.5 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.0 มิลลิเมตร
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว โดยความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พันธุ์ข้าวนี้ได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่แล้ว ห้ามนำไปขยายพันธุ์เชิงการค้าต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากวช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แกมมาโอไรซานอล วิตามินอี แทนนิน สังกะสี และโฟเลตสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง
ข้าวสีนิล
ข้าวสีนิล หรือ ข้าวหอมนิล หรือ ข้าวก่ำ คือข้าวที่มีสีดำโดยกำเนิด ไม่ได้มีการย้อมสีใดๆ ทั้งสิ้น มีรสชาตอร่อย มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดดเด่น แตกต่างจากข้าวสีอื่น มีคุณประโยชน์บางอย่างมากกว่าข้าวสีอื่น ในตลาดจะมีข้าวสีนิลทั้งแบบที่สีหลายขั้นตอนซึ่งเป็นขั้นตอนเหมือนกับการสีข้าวสารจนเป็นสีขาว แต่ข้าวสีนิลนี้สีอย่างไรก็ไม่ขาว และแบบที่กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันคือการสีแบบข้าวกล้อง คือการสีเอาเปลือกออกเท่านั้น ซึ่งจะคงคุณค่าทางโภชนาการ คุณค่าทางยา วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ ไว้ได้ครบถ้วน และกำลังมาแรงคือข้าวกล้องงอกสีนิล ข้าวกล้องงอกแบบนี้มีสาร GABA ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ปริมาณมากกว่าข้าวกล้องงอกแบบอื่นหลายเท่า
ข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์
ข้าวหอมมะลิ 105 หรือข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษคือ เมล็ดข้าวสารยาวเรียวสีขาวสวยมีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย เมื่อนำมาหุงยังคงมีกลิ่นหอมและอ่อนนิ่ม มีรสชาติดี เมื่อนำไปปลูกจะทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว และดินเค็ม พบครั้งแรกในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดย นายจรูญ ตัณฑวุฒ ได้นำมาปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และในปี 2500 กรมการข้าว กระทรวงเกษตรได้รวบรวมข้าวพันธุ์ดีของประเทศจากอำเภอบางคล้าจำนวน 199 รวง ส่งไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง และพบว่าต้นข้าวแถวที่ 105 ดีที่สุดมีเมล็ดยาว เรียว ขาวใส มีกลิ่นหอม จึงคัดเลือกแถวที่ 105 มาเป็นแม่พันธุ์ คณะกรรมการได้ตั้งชื่อให้ว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105
ข้าวขาวปากหม้อ 148
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายทอง ฝอยหิรัญ พนักงานเกษตร จากอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2495-2496 จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2508
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 3 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.9 มิลลิเมตร
ข้าวหลวงสันป่าตอง
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกรบ้านปางม่วง ต. แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้างสันป่าตอง และทดสอบพันธุ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ อ. เมือง อ.เมืองปาน และ อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง ในปี 2541 – 2546
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 15-17 พฤศจิกายนกอตั้ง แตกกอมาก ลำต้นตรง แข็ง ไม่ล้มง่าย รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงยาวเมล็ดสีฟางกระน้ำตาลเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.93 x 7.11 x 2.07 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 14.26 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว
ข้าวเหนียวพันธุ์ เหนียวดำหมอ 37
ข้าวเหนียวดำหมอ 37 สายพันธุ์ PTNC96051-37 เป็นข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสงออกดอกต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผลผลิตเฉลี่ย 378 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูงประมาณ 139 เซนติเมตร ลักษณะทรงกอตั้ง แผ่นใบสีม่วงผสมเขียว กาบใบสีเขียวเส้นม่วง ใบธงหักลง ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงอ่อน ยอดดอกสีม่วงดำ สีกลีบรองสีม่วงแดง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง การแตกกระแง้ปานกลาง รวงยาว 24.8 เซนติเมตร ข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.69 มิลลิเมตร กว้าง 3.10 มิลลิเมตร หนา 2.04 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีดำยาว 7.28 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร รูปร่างเมล็ดค่อนข้างป้อม น้ำหนักข้าวเปลือก 27.93 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด คุณภาพการสีดีมาก ระยะพักตัวประมาณ 8 สัปดาห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น